ประวัติความเป็นมาของธุรกิจภาพยนตร์ตั้งแต่ต้น

ขั้นตอนการสร้างหนัง
ประวัติความเป็นมาของธุรกิจภาพยนตร์ตั้งแต่ต้น

‘ภาพยนตร์’ คือ การบันทึกผลงานด้วยฟิล์ม นำออกฉายด้วยภาพเคลื่อนไหว โดยภาพซึ่งปรากฏอยู่บนฟิล์มภาพยนตร์นั้น ผ่านกระบวนการถ่ายทำที่ต้องใส่ใจในทุกขั้นตอน โดยเรื่องราวในเรื่องอาจเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้นมา หรือนำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงก็ได้ ความพิเศษของภาพยนตร์ คือ น่าสนใจเพราะเห็นทั้งภาพและเสียง เพราะฉะนั้นภาพยนตร์จึงจัดเป็นสื่อมวลชนซึ่งมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ มาเป็นเวลาอันแสนยาวนานนับร้อยปี ในปัจจุบันนี้ ธุรกิจภาพยนตร์เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก

ประวัติความเป็นมาของภาพยนตร์ในอดีต

ภาพยนตร์ต้นแบบในสมัยโบราณ ได้รับการประดิษฐ์คิดขึ้นโดยนักประดิษฐ์ระดับโลกอย่าง ‘Thomas Alva Adison’ ร่วมด้วยผู้ร่วมงานนาม ‘William kenady dickson’ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ในสมัยนั้นมีชื่อเรียกว่า ‘Kinetoscope’ โดยมีลักษณะเป็นตู้สูง 4 ฟุต เวลาดูต้องดูผ่านช่องเล็กๆ ซึ่งสามารถดูได้ทีละคนเท่านั้น โดยเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เป็นคนไทยพระองค์แรก ซึ่งได้ชมภาพยนตร์ ณ ประเทศสิงคโปร์

ต่อมาพี่น้องตระกูล ‘Lumiere’ ชาวฝรั่งเศส ได้สานต่อเครื่องมือชนิดนี้ โดยให้สามารถฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ได้ เพราะจะได้ชมพร้อมกันจำนวนมาก เครื่องฉายภาพยนตร์ประเภทนี้เรียกว่า ‘Cinimatograph’ และจากจุดนี้นี่เองที่คำว่า ‘Cenema’ ได้นำมาใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์มาจนถึงทุกวันนี้

ภาพยนตร์ขนาดใหญ่ปรากฏโฉมขึ้นมาครั้งแรก

ภาพยนตร์ที่ฉายภาพบนจอขนาด เกิดขึ้นในอเมริกาในปี ค.ศ. 1895 ด้วยความร่วมมือระหว่าง Thomas Armat และ C. Francis Jenkins รวมทั้ง Adison และเรียกเครื่องฉายนี้ว่า ‘Bioghraph’ หลังจากนั้นเป็นต้นมา ภาพยนตร์ได้แพร่กระจายไปในต่างประเทศทั่วโลก จนกระทั่งก่อกำเนิดอุตสาหกรรมการผลิตจำหน่ายรวมทั้งบริการฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่หลายต่อหลายแห่ง ภาพยนตร์ได้กลายเป็นสื่ออันแสนมีประโยชน์ พร้อมใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เช่น ศิลปะ และ การบันเทิง รวมทั้งวรรณกรรมต่างๆ

ภาพยนตร์ในประเทศไทย

โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2440 เป็นต้นมา ได้มีกลุ่มฉายภาพยนตร์ที่มาจากนานาประเทศ ได้เข้ามาจัดฉายภาพยนตร์ในประเทศไทยของเรา พร้อมเก็บค่าเข้าชมจากผู้ที่สนใจเรื่อยมา ส่วนสถานที่จัดนะหรือ ก็ ตามวัด , โรงแรม , โรงละครบ้าง ต่อมาชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาทำธุรกิจตั้งโรงภาพยนตร์ขึ้น พร้อมทั้งมีกำหนดการจัดฉายภาพยนตร์เป็นประจำทุกวัน แน่นอนความบันเทิงเช่นนี้รึจะพลาด ประชาชนแห่มาดูกันจำนวนมาก จนกระทั่งชาวไทยรู้จักกันดีในชื่อ ‘หนังญี่ปุ่น’ โดยเป็นเหตุปัจจัยหลักทำให้นักธุรกิจชาวไทยตั้งธุรกิจโรงภาพยนตร์ขึ้นมาอีกหลายโรง เนื้อหาที่ฉายก็จะเป็นแบบสั้นๆ เช่น ข่าว , สารคดี , การแสดงละครสั้นๆ เป็นต้น

ธุรกิจภาพยนตร์ห่อเหี่ยวในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

จากการปะทะกันของสงคราม ก่อให้เกิดเศรษฐกิจตกต่ำ อีกทั้งยังขาดแคลนวัสดุในการผลิต หากแต่ถึงกระนั้นก็มีการสร้างภาพยนตร์ออกมาอยู่บ้าง ภาพยนตร์ที่โด่งดังมากในสมัยนั้น คือ เรื่อง ‘พระเจ้าช้างเผือก’ โดยมีความพิเศษตรงเป็นภาพยนตร์ไทยที่พูดภาษาอังกฤษเรื่องแรก อีกทั้งยังนำออกฉายพร้อมกันทั้งในกรุงเทพฯ , สิงคโปร์ และ New York อีกต่างหาก โดยมีเหตุผลในการสร้างเพื่อแสดงให้ชาวโลกได้เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นชาติรักสันติ

สงครามโลกผ่านไป กิจการฟื้นตัวขึ้นมา

เมื่อสงครามจบลง ในปี พ.ศ. 2488 ภาพยนตร์กลับมาแข็งแรงอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการสร้างภาพยนตร์ด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. เป็นที่แพร่หลาย หลังจากปีพ.ศ. 2504 เป็นต้นมา เป็นยุคทองของภาพยนตร์ไทย โดยมีการสร้างภาพยนตร์จำนวนมาก ผลิตภาพยนตร์ปีละเกือบร้อยเรื่อง นอกจากนี้เกิดปรากฏการณ์อันน่าตกใจอีกประการหนึ่ง ก็คือ ความนิยมในการเลือกใช้นักแสดง นั่นเอง ! ซึ่งพระ – นาง ที่มีความสำคัญ ก็คือ ‘มิตร ชัยบัญชา’ และ ‘เพชรา เชาวราชฎร์’ สำหรับภาพยนตร์ที่ได้รับความนิยมแบบล้นหลามและฉายในกรุงเทพฯ อย่างยาวนานติดต่อกันถึง 6 เดือน อีกทั้งยังทำรายได้สูงสุดถึง 9 ล้านบาท คือ เรื่อง ‘มนต์รักลูกทุ่ง’